
วันนี้เรามาทำความรู้จัก อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กัน!
อุทยานวิทยาศาสตร์ คืออะไร?
“อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี” คือ สถานที่สำหรับภาคเอกชนเช่าพื้นที่ในการทำวิจัยและพัฒนา สนับสนุนผู้ประกอบการ Startup รวมถึงวิสาหกิจชุมชน โดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้เติบโตสู่ระบบเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนการนำงานวิจัยของมหาวิทยาลัยออกสู่เชิงพาณิชย์ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่คอยให้ความรู้ และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำเนินงานกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์
หน้าที่ของอุทยานวิยาศาสตร์
1.ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนนโยบายการมุ่งเน้นให้ประเทศไทยเป็นสังคมฐานความรู้ที่แข่งขันโดยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.เป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสำหรับภาคเอกชนโดยเฉพาะ โดยส่งเสริมการพัฒนาการบริการโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงไปสู่ภาคอุตสาหกรรม
3.คิดค้นการวิจัยพัฒนา โดยใช้ฐานความรู้ในด้านต่างๆมาบูรณาการ เพื่อนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์ ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนตลอดจนสนับสนุนให้เกิดคลัสเตอร์เชิงยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ
4.การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาแก่ภาคอุตสาหกรรม
Lab and Testing Services การบริการวิเคราะห์และทดลอง -บริการวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ตลอดจนรับผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบในระดับกึ่งอุตสาหกรรมโดยมีห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐานในการรับทดสอบ ได้แก่ ศูนย์ทดสอบและวิเคราะห์น้ำดื่มน้ำแข็งศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ชุมชนศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพรอาหารเครื่องดื่มปัจจัยการผลิตทาง การเกษตรศูนย์ทดสอบทางจุลชีววิทยาและโรงงานต้นแบบด้านอาหารและโรงงานต้นแบบผลิตสุมนไพรเป็นต้น
Co-research & IRTC การส่งเสริมการร่วมวิจัยร่วมกับภาคเอกชนเป็นโครงการที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนทำการวิจัยและพัฒนาโดยดำเนินการผ่านโครงการ 2 รูปแบบคือ
(Collaborative Research) การวิจัยร่วมกับเอกชน เป็นการร่วมลงทุนในการวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนโดยใช้เครื่องมือและบุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าสนับสนุนพร้อมทั้งมีการสนับสนุนงบประมาณบางส่วน
IRTC: Industrial Research And Technology Capacity Development Program โครงการพัฒนาขีดความสามารถ เป็นโครงการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีเข้าไปทำให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการในสถานประกอบการโดยการใช้ผู้เชี่ยวชาญไปเป็นที่ปรึกษาในการแก้ไขปัญหาปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์รวมถึงการฝึกอบรมการเสาะหาเทคโนโลยีจากแหล่งต่างๆเพื่อให้สามารถเข้าสู่การแข่งขันในตลาดการค้าสากลได้อย่างเข้มแข็ง
Science And Technology Infrastructure Databank ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเช่นเครื่องมืออุปกรณ์และห้องปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่และให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) แก่ประชาชนและภาคการผลิตสามารถเข้ามาสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
กลุ่มเป้าหมายของอุทยานวิทยาศาสตร์
1.ผู้ประกอบการที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน
Startup
4.บริษัททั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีความจำเป็นและสนใจในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
วัตถุประสงค์